เ ตื อน พื้นที่ เตรียมรับมวลน้ำก้อนใหญ่

เ ตื อน เตรียมรับมวลน้ำก้อนใหญ่ คาดอีก 5-7 วัน ถึงพื้นที่

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 นายอัครโชค สุวรรณทอง นายอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำพื้นที่ อ.บางระกำ ว่า จากการประเมินมวลน้ำที่มาจาก จ.สุโขทัย จะเข้ามา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก แม่น้ำยม 2 ฝั่ง

โดยเฉพาะฝั่งขวา ที่รับน้ำจาก บ้านกง อ.กงไกรลาศ ที่ระบายผ่านประตูระบายน้ำวังสะตือของ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ที่รับมวลน้ำจากอ่างแม่มอก และน้ำจากคลองแม่รำพัน อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ที่มาลง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย จะไหลลงมาเข้าจุดแรกของ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ ต.คุยม่วง

ซึ่งพื้นที่ตอนนี้มีน้ำเข้าทุ่งท่วมพื้นที่เกษตรแต่ไม่เสียหาย เพราะเกษตรกรเก็บเกี่ยวหมดแล้ว ช่วงนี้ทางอำเภอเฝ้าระวังน้ำที่เพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 2 เซนติเมตร วันละประมาณ 20 เซนติเมตรอยู่ในระดับวิกฤติแจ้งเตือนสีแดง

ให้ประชาชนริมตลิ่ง 2 ฝั่งแม่น้ำยมเก็บของไว้ที่สูง และให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดผ่านทางผู้นำท้องที่ท้องถิ่นและเตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุ ให้พื้นที่ปลอดภัย เครื่องมือพร้อมช่วยเหลือ

แต่จากการประเมินคาดว่ามวลน้ำก้อนใหญ่จาก จ.สุโขทัย จะเดินทางมาในอีก 5-7 วันข้างหน้า เป็นระดับพีกของบางระกำ ซึ่งทุ่งบางระกำโมเดล ทุ่งบางระกำฝั่งซ้าย ยังสามารถรับน้ำได้อยู่ ทางชลประทานจังหวัดพิษณุโลก มีการบริหารจัดการน้ำ ประตูระบายน้ำวังสะตือ

ล่าสุดขณะนี้ระดับน้ำบางระกำที่สถานีวัดน้ำ Y 64 ด้านหลังที่ว่าการ อ.บางระกำ ระดับน้ำสูง 7.31 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 91 เซนติเมตร ระดับ 39.82 ม.รทก. อัตราการไหล 459.00 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องชั่วโมงละ 1 เซนติเมตร แต่ไม่ได้กระทบบ้านเรือนมาก

อาจมีได้รับผลกระทบน้ำท่วมใต้ถุนบ้านบ้าง ถ้าดูจากสถานการณ์พยากรณ์อากาศ ถ้าไม่มีฝนมาเติมเต็มน่าจะพอรับได้ไม่หนักเหมือนปี 2560 หรือปี 2554 เพราะมวลน้ำสุโขทัยหลากเข้าทุ่งบางส่วน ทำให้ตัดมวลน้ำไปได้ในระดับหนึ่ง

ส่วน ประตูระบายน้ำวังสะตือ ได้ลดบานประตูระบายน้ำลงเพื่อดันน้ำสูงสุด 400 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้ยังสามารถรับน้ำได้อีก 170 ล้าน ลบ.ม. จากรายงานชลประทานจังหวัด ในส่วนของตัวอำเภอบางระกำมีประตูระบายน้ำบางแก้ว ที่รับจากแม่น้ำยมสายเก่า พยายามบริหารไม่ให้ส่งผลกระทบ

ส่วนหน้าวัดสุนทรประดิษฐ์ หลวงปู่แขก เส้นนี้รับแม่น้ำยมสายหลัก ที่มาจากสุโขทัย ผ่าน ประตูระบายน้ำยางซ้าย มา ประตูระบายน้ำวังสะตือ เข้ามาพื้นที่ ต.คุยม่วง ต.ชุมแสงสงคราม-ต.ท่านางงาม ต.บางระกำ เป็นพื้นที่เสี่ย งภัยอยู่แล้ว แต่โชคดีที่มีบางระกำโมเดลรองรับน้ำ ช่วยหน่วงน้ำไว้อยู่

อีกทั้งชลประทานได้ตั้งเครื่องผลักดันน้ำที่จุดสะพานวังเป็ดระบายน้ำช่วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งหากดูเส้นทางน้ำ จากทั้งแม่น้ำยมสายหลัก และแม่น้ำยมสายเก่า ทั้ง 2 สาย แม้ว่ามวลน้ำจะมีปริมาณมาก แต่พื้นที่ อ.บางระกำ จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา

ด้าน นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า แม่น้ำยมสายหลัก ที่สถานีวัดน้ำ Y.64 อ.บางระกำ พิษณุโลก ระดับน้ำ 7.31 ม. สูงกว่าตลิ่ง 0.91 ม. อัตราการไหล 459.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อยู่ในสถานการณ์วิกฤติน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

ส่วนประตูระบายน้ำบางแก้ว อำเภอบางระกำ ระดับน้ำเหนือ ประตูระบายน้ำ 41.03 เมตรระดับน้ำทะเลปานกลาง น้ำล้นระดับสปิลเวย์สูง 1.23 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การดำเนินการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลากตามโครงการบางระกำโมเดล พื้นที่ดำเนินการปี 2564 จำนวน 265,000 ไร่

สามารถรองรับน้ำได้ 400 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบัน รับน้ำเข้าพื้นที่แล้ว จำนวน 163,114 ไร่ ปริมาณน้ำในแก้มลิงบางระกำ 295.191 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรองรับน้ำได้อีก 105 ล้านลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น จะส่งผลกระทบให้ระดับน้ำในแม่น้ำยมสายหลักอำเภอบางระกำ และ แม่น้ำสายเก่า-คลองเมม-คลองบางแก้ว อ.พรหมพิราม และ อ.บางระกำ มีระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอาจเอ่อล้นตลิ่ง

ประกอบน้ำที่ไหลหลาก จากพื้นที่ตอนบน จึงขอประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนประชาชน ที่อาศัยอยู่ริมตลิ่ง แม่น้ำยม, แม่น้ำยมสายเก่า, คลองเมม-คลองบางแก้ว ให้เตรียมการขนของขึ้นที่สูง ขนย้ายสัตว์เลี้ยง ที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำ และติดตามสถานการณ์น้ำ สภาพภูมิอากาศ อย่างใกล้ชิดจากทางหน่วยราชการ

อย่างไรก็ตาม ขอให้แต่ละพื้นที่ ติดตามประกาศของแต่ละพื้นที่ เพื่อเตรียมรับมือกับมวลน้ำที่จะมาถึง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

+ 27 = 28

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า