ถ้าวันนึง คุณเจอ “ค น ส า ม ฤดู” (เหมาะกับ โ ล ก ทุกวันนี้ ดี นะ)

ถ้าวันนึง คุณเจอ “ค น ส า ม ฤดู” (เหมาะกับ โ ล ก ทุกวันนี้ ดี นะ)

คนสามฤดู

มีอยู่วันหนึ่ง ลูกศิษย์คนหนึ่งของขงจื้อกำลังกวาดพื้นอยู่หน้าสำนัก มีคนแปลกหน้าผ่านมาแล้วถามเขาว่า

“เจ้าพำนักอยู่สำนักขงจื้อหรือ”

“ใช่ครับ ผมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ขงจื้อครับ” เขาตอบอย่างภาคภูมิใจ

“ดีมาก ถ้าเช่นนั้นผมขอถามคำถามคุณสักข้อ”

“ได้เลยครับ เรียนเชิญ” ลูกศิษย์ตอบ ในใจเขาคิดว่าคงเป็นพวกปัญหา แป ล ก ประหลาด พิ ส ดาร ไ ม่เหมือนใคร

คน แ ป ล กหน้าถามว่า “โลกนี้ปีหนึ่งมีกี่ฤดู”

ลูกศิษย์คิดในใจว่า คำถามง่ายๆแบบนี้ยังเอามาถามได้ จึงตอบไปอย่างมั่นใจว่า “ปีหนึ่งมีสี่ฤดู”

คนแปลกหน้าสั่นหัว “ไม่ถูก ปีหนึ่งมีแค่สามฤดู”

“คุณคงเข้าใจผิด สี่ฤดูแน่นอนอยู่แล้ว”

“สามฤดู” คนแปลกหน้าเถียงอย่างมีน้ำโห

ฝ่ายลูกศิษย์พยายามแจกแจงรายละเอียดของทั้งสี่ฤดูให้ฟังอย่างครบถ้วน แต่คนแปลกหน้าก็ไม่ยอมรับรู้

ทั้งสองโต้เถียงกันไม่ยอมจบ เลยตกลงกันว่าต้องมีเดิมพันกันหน่อย หากเป็นสี่ฤดู คนแปลกหน้าต้องโค้งคำนับฝ่ายลูกศิษย์ไปสามครั้ง แต่หากคำตอบคือสามฤดู ฝ่ายลูกศิษย์ต้องเป็นฝ่ายโค้งคำนับ

ก็พอดีเป็นจังหวะที่ขงจื้อเดินออกมาหน้าสำนักตน ลูกศิษย์จึงถือโอกาสเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้อาจารย์ฟัง พร้อมถามคำถามที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ “ตกลงปีหนึ่งมีกี่ฤดูครับ อาจารย์”

ขงจื้อใช้สายตามองคนแปลกหน้าอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนที่จะตอบเขาว่าถ้าเจ้าจะเชื่อว่าปีหนึ่งมีสามฤดู มันก็ไม่ผิด

ลูกศิษย์ทั้งตกใจและแปลกใจในคำตอบ แต่ก็ไม่กล้าโต้แย้งอาจารย์

คนแปลกหน้าดีใจอย่างมาก “มาโค้งคำนับข้าเร็ว”

ลูกศิษย์จำใจต้องทำตามสัญญา ด้วยการโค้งคำนับคนแปลกหน้าไปสามครั้ง

เมื่อคนแปลกหน้าจากไปแล้ว ลูกศิษย์จึงถามขงจื้อด้วยความสงสัยว่า 

“อาจารย์ครับ ปีหนึ่งมีสี่ฤดูชัดๆ แต่ทำไมอาจารย์จึงบอกว่ามีแค่สามฤดู”

ขงจื้อมองหน้าลูกศิษย์ ก่อนจะตอบอย่างใจเย็นว่า “เจ้าไม่เห็นหรือว่า คนแปลกหน้าคนนั้นนุ่งเขียวห่มเขียวมาทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า ข้าจึงอยากเปรียบเปรยเขาเป็นดั่งพวกตั๊กแตน ตั๊กแตนเกิดในฤดูใบไม้ผลิ และ ต ายในฤดูใบไม้ร่วง พวกมันจึงไม่เคยได้พบเจอฤดูหนาวเลย คนแปลกหน้าคนนั้นอาจมาจากแดนไกลที่แทบจะไม่มีฤดูหนาว

ถ้าบอกเขาว่า ปีหนึ่งมีสามฤดู เขาก็จะพอใจ แต่ถ้าบอกเขาว่าโลกนี้มีสี่ฤดู คงต้อง ท ะ เ ล า ะ โต้เถียงกันไม่จบไม่สิ้น แม้พระอาทิตย์จะตกดินไปแล้วก็ยังจะหาบทสรุปไม่ได้ การที่เจ้ายอมคำนับเขาไปสามครั้ง เสียเปรียบหน่อยแต่ก็ไม่ถึงกับเสียหายมาก เรื่องจะได้จบกันเสียที จงอย่าเสียเวลาไปโต้เถียงกับคนพวกนี้ให้เสียอารมณ์โดยใช่เหตุ”

************

เพื่อนๆหลายคนที่เคยอ่านเรื่องนี้แล้ว ก็มักจะกลับมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนเจอคนที่ไม่ยอมคุยด้วยเหตุผล หรือเอาแต่ความคิดตนเองเป็นใหญ่ ก็จะโกรธ อารมณ์เสีย อยากเถียงให้มันรู้ดำรู้แดงไปเลย แต่เดี๋ยวนี้เลิกอารมณ์ขุ่นมัวกับคนพวกนี้แล้ว เพราะคิดได้ว่าคนพวกนี้เป็นแค่ “คนสามฤดู” จิตใจก็จะสบายขึ้น

คนสามฤดูจะยืนกรานว่าตนมีเหตุผล รู้จริงและถูกต้องเสมอ ยากที่จะยอมรับความคิดเห็นคนอื่น นั่นเพราะพวกเขาไม่เคยพบเจอความจริงที่บ่งบอกถึงความเข้าใจผิดของพวกเขา หรืออาจเพราะความดื้อรั้นในตัวเขา เพราะฉะนั้น หากเรามัวแต่เสียอารมณ์ไปโกรธคนพวกนี้ ก็เท่ากับเรากำลังทำ ร้ าย ตัวเราเอง

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ถ้าเจอ”คนสามฤดู”….

ไม่ แ ย่ ง ชิงคือความสงบ

ไม่โต้เถียงคือความชาญฉลาด

ให้อภัยคือการหลุดพ้น

ยุติให้เป็นคือการปล่อยวาง

โลกเรานั้น

มี “คนสามฤดู” เยอะแยะไปหมด

จงจำนิทานเรื่องนี้ให้ดี 

แล้วนำออกมาใช้ในจังหวะที่จำเป็น

มีประโยชน์ต่อคุณแน่นอน

ขอบคุณที่มา “ขจรศักดิ์”  แปลและเรียบเรียง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

22 − 18 =

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า