วันราหูอมอาทิตย์ หมอช้างเตื อน 2 ราศีต้องระวั งเป็นพิเศษ

วันราหูอมอาทิตย์ ‘หมอช้าง’ เตื อน 2 ราศีต้องระวั งเป็นพิเศษ

“หมอช้าง” ทศพร ศรีตุลา หมอดูชื่อดังพย ากรณ์ผ่านเฟซบุ๊ก “หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา” โดยระบุว่า วันที่ 21 มิถุนายน 2563 วันราหูอมอาทิตย์ 12 ราศีช่วงดวงแร งต้องระวั ง

โดยเฉพาะราศีเมถุน (15 มิ.ย.-16 ก.ค.) และราศีธนู (16 ธ.ค.-14 ม.ค.) ต้องมีสติ ดูแลตัวเอง และหมั่นสวดมนต์เป็นประจำในช่วงนี้

พร้อมระบุว่า เดือนนี้มีปรากฏการณ์ทั้งร าหูอมจันทร์ช่วงต้นเดือน และร าหูอมอาทิตย์ วันที่ 21 มิถุนายน ที่เห็นได้ในเมืองไทย และยังเป็นวันอุตรายัน ที่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ทำให้กลางวันนานที่สุดในรอบปี แนะนำทุกราศีให้งดกิจกร รมที่โลดโผน หรือ เสี่ ยงอันตร าย และควรสวดมนต์เป็นประจำจนถึงวันที่ 27 มิถุนายน

สำหรับบทสวดมนต์ที่แนะนำ ได้แ ก่

ตั้งนะโม 3 จบ

ค าถ าสุริยะบัพพา

กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ

โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ

โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ

ค าถ าจันทบัพพา

ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง

มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ

กาเสตัง กาติยังมะมะ ยะติกาฯ

ด้านสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ว่า 21 มิถุนายนนี้ ชม #สุริยุปราคาบางส่วน ใน #วันครีษมายัน กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

วันที่ 21 มิถุนายน 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาวงแหวน” แนวคราสวงแหวนพาดผ่าน สาธารณรัฐอัฟริกากลาง คองโก เอธิโอเปีย ตอนใต้ของปากีสถาน ตอนเหนือของอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน

ส่วนประเทศไทย จะเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” ดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ เว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ในช่วงเวลาประมาณ 13:00 – 16:10 น. ตามเวลาประเทศไทย ดวงอาทิตย์ จะปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุด เวลาประมาณ 14:49 น. สังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาค จะมองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแต กต่า งกัน ดังนี้

 

#ภาคเหนือ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 63%

#กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังประมาณ 40%

#ภาคใต้ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังน้อยที่สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา ประมาณ 16%

สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากโลก จะเห็นดวงจันทร์ เคลื่อนที่เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ สำหรับสุริยุปราคาบางส่วน เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ไ ม่ได้เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ดวงจันทร์ จึงบดบังดวงอาทิตย์ เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้มีเพียงเงามัวของดวงจันทร์ ทอดผ่านพื้นผิวโลก ผู้สังเกตบนโลก ภายในบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน จะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์ บดบังเพียงบางส่วนเท่านั้น

สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในประเทศไทยคือ สุริยุปราคาบางส่วน ในวันที่ 2 สิงหาคม 2570 ซึ่งจะต้องรออีก 7 ปีต่อจากนี้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” แล้ว ยังเป็นวัน “ครีษมายัน” คือวันที่เวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และ ตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด

สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าว ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. และ จะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้านานถึง 12 ชั่ วโมง 56 นาที ประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุด นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว

ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แ ก่

#วันครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุด

#วันเหมายัน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด

#วันวสันตวิษุวัต และ #วันศารทวิษุวัต วันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

4 + 6 =

Back To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า